image
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • 30 ปีโรงพยาบาล
    • วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
  • ทีมแพทย์
  • บริการสำหรับผู้ป่วย
    • บริการตรวจรักษา
    • ห้องพักสำหรับผู้ป่วย
    • โปรแกรม & แพคเกจ
  • ติดต่อเรา
    • ติดต่อเรา
    • ร่วมงานกับเรา
Previous Next

ทีมแพทย์

ค้นหาแพทย์

ข่าวประชาสัมพันธ์ ดูทั้งหมด

ประกาศ ขยายเวลาฉีดวัคซีน Moderna ถึงวันที่ 30 ก.ค. 2565

อ่านต่อ

รพ.ทักษิณ รับมอบใบประกาศเกียรติบัตร จากสำนักงานประกันสังคม

อ่านต่อ

สาระน่ารู้ ดูทั้งหมด

Picture

การตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์

อ่านต่อ
Picture

คุณมีภาวะ...ขาดวิตามินดี หรือไม่?

อ่านต่อ

ร่วมงานกับเรา

1. พยาบาลวิชาชีพ (ICU / WARD / OPD) (ประกาศ ณ วันที่ 19 พ.ค. 2565) ด่วน!
2. เภสัชกร (ประกาศ ณ วันที่ 19 พ.ค. 2565) ด่วน!
3. เจ้าหน้าที่พยาบาล (NA) (ICU / WARD / OPD / NSR) (ประกาศ ณ วันที่ 19 พ.ค. 2565) ด่วน!
4. เจ้าหน้าที่ซักรีด (ประกาศ ณ วันที่ 19 พ.ค. 2565) ด่วน!

กิจกรรมภายใน ดูทั้งหมด

โรงพยาบาลทักษิณจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ประจำปี 2564

อ่านต่อ

คำถามที่พบบ่อย ดูทั้งหมด

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ

คำถามที่พบบ่อย

ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดฟัน

โรงพยาบาลทักษิณให้บริการทันตกรรมจัดฟัน ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดฟันประมาณ 55,000 - 60,000 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายครั้งตามรายละเอียดดังนี้


- ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 3: ราคา 5,500 บาท/ครั้ง (ระยะห่างระหว่างครั้งที่ 1 และ 2 ไม่ระบุ ผู้รับบริการสามารถมาพบทันตแพทย์ได้ตามเวลาที่สะดวก และครั้งที่ 3 ระยะห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 1 เดือน)

- ครั้งที่ 4 จนถึงครบกำหนดการจัดฟัน: ราคา 1,500 บาท (ระยะห่างของแต่ละครั้งประมาณ 1 เดือน) 

หมายเหตุ: ราคาที่แจ้งไปข้างต้นไม่รวมค่าเคลียร์ช่องปากก่อนการจัดฟัน เช่น การขูดหินปูน, การอุดฟัน, การรักษารากฟัน, การถอนฟัน เป็นต้น 


การนัดหมายและเวลาทำการ : 
ทันตกรรมจัดฟัน : จันทร์ - เสาร์เวลา 08.30 - 17.00 น.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ นัดหมายล่วงหน้าได้ที่ : แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลทักษิณ
โทร. 0-7727-8777 ต่อ 5291, 5292
Email: info@thaksinhospital.com

**หมายเหตุ: ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดสอบถามค่าใช้จ่ายอีกครั้งก่อนเข้ารับการรักษา**

ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝากครรภ์

โรงพยาบาลทักษิณให้บริการฝากครรภ์และคลอดบุตร โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการฝากครรภ์ครั้งแรกประมาณ 2,000 – 3,000 บาท ซึ่งรวมค่าอัลตราซาวด์, ค่าแพทย์ และค่ายาบำรุงครรภ์ หากมีการเจาะเลือดตรวจเพิ่ม ค่าใช้จ่ายจะประมาณ 5,000 บาท 

 

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายที่แจ้งไปข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้นซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งราคาที่แท้จริงจะแจ้งให้ทราบภายหลังจากที่แพทย์ตรวจร่างกายคุณแม่เรียบร้อยแล้ว

 

สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ครั้งต่อๆ ไปยังไม่สามารถแจ้งได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่ยาบำรุงครรภ์หรือการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยของแพทย์

 

ทั้งนี้โรงพยาบาลทักษิณมีสูตินรีแพทย์ปฏิบัติงานทุกวันดังนี้

 

- จันทร์-ศุกร์         เวลา 08.30 - 19.00 น.

- เสาร์-อาทิตย์      เวลา 08.30 - 16.00 น.

 

หรือสามารถดูตารางปฏิบัติงานของสูตินรีแพทย์ผ่านทางเว็บไซต์ www.thaksinhospital.com/thaksin/center-detail.php?men=2&id=4

 

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ : แผนกสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลทักษิณ

โทร. 0-7727-8777 ต่อ 4124, 4125

Email: info@thaksinhospital.com

 

**หมายเหตุ: ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดสอบถามค่าใช้จ่ายอีกครั้งก่อนเข้ารับการรักษา**

การคัดท้องอันตรายหรือไม่

การคัดท้องหรือการหมุนกลับท่าให้ทารก

 

คือ การกดนวดท้อง คลึงท้อง เพื่อจัดท่าของทารกในครรภ์ให้เป็นท่าศีรษะ (ท่าทารกเอาศีรษะลงอุ้งเชิงกราน) ซึ่งจะทำการนวดครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 32-34 สัปดาห์ หรือช่วงใกล้ๆ คลอด ตอนอายุครรภ์ประมาณ 36-37 สัปดาห์

 

ข้อเสียที่อันตรายมากของการคัดท้องหรือการนวดหมุนกลับท่า

 

·         สายสะดือจะถูกดึงให้ตึง หรือสายสะดือพันคอทารก ซึ่งอาจทำให้ทารกเกิดอาการขาดอากาศและเป็นเหตุให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์

·         เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

สาเหตุเกิดจาก:

-    การนวดทำให้มดลูกช้ำ ทำให้เกิดการหลุดลอกของรก

-     การนวดหมุนท่าเกิดการดึงสายสะดือให้ตึง ทำให้สายสะดือดึงรกให้หลุดออกมาจากผนังมดลูกซึ่งอาจทำให้ “ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และ มารดาอาจเสียชีวิตจากการตกเลือดได้”

·         เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด

สาเหตุเกิดจาก:

-   การคัดท้องหรือการนวดหมุนกลับท่า เป็นการกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของมดลูกซึ่งเป็นเหตุให้มารดามีอาการท้องแข็ง ปวดท้อง เจ็บๆตึงๆที่ท้อง และทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

 

คำแนะนำ

 

·       ห้ามไม่ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ไปทำการคัดท้องหรือนวดหมุนท่าทารกในครรภ์เด็ดขาด เพราะมีข้อเสียที่อันตรายมากต่อทารกและคุณแม่ตั้งครรภ์

·         หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับทารกในครรภ์หรือการคลอดให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

 

ด้วยความปรารถนาดีจากแผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรม

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 

แผนกสูติ-นรีเวชกรรม  โรงพยาบาลทักษิณ

โทร. 077-278-777 ต่อ 4124 , 4125 หรือ

หมายเลขโทรศัพท์สายตรง 077-278-779

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของการตั้งครรภ์และการคลอดคืออะไร

ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)

คือพิษจากการตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ 10 ของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของมารดาเป็นอันดับ 2 รองจากการตกเลือดหลังคลอด

อาการ

• ความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmHg
• พบโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ
• บวม
• ถ้าครรภ์เป็นพิษรุนแรง มารดามีโอกาสเกิดการชัก และ เสียชีวิต

รกเกาะต่ำ (Placenta previa)

หมายถึง รกเกาะที่ส่วนล่างของมดลูกหรือคลุมถึงปากมดลูก (บริเวณที่รกเกาะปกติคือส่วนด้านบนของมดลูก) ถ้ามีการยืดขยายของปากมดลูก เกิดการฉีกขาดของรก ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด มารดามีโอกาสเสียเลือดมาก อันตรายถึงชีวิตได้

รกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placenta)

เป็นภาวะที่รกลอกตัวจากผนังมดลูกก่อนคลอดบุตรมีโอกาส ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้

อาการ

มีอาการปวดมดลูกตลอดเวลาและรุนแรงไม่สัมพันธ์กับการบีบตัวของมดลูก

วิธีการป้องกัน

• ระมัดระวังไม่ให้มดลูกกระทบกระเทือนรุนแรง
• ห้ามกดนวดมดลูก หรือ ห้ามคัดท้อง

ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด (Amniotic fluid embolism)

เกิดจากการแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้เซลล์ของน้ำคร่ำหลุดเข้าไปในกระแสเลือดของมารดา ก่อให้เกิดภาวะระบบการไหลเวียนเลือดและระบบการหายใจของมารดาล้มเหลว

• มีโอกาสเกิดเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่ว
• อัตราการเกิด 1 ต่อการคลอดกว่า 20,000 ราย
• ถ้าเกิดขึ้นโอกาสที่มารดาจะเสียชีวิตเกือบ 100%
• ไม่สามารถทำนายหรือรู้ล่วงหน้าได้
• ไม่มีวิธีการป้องกันและรักษาที่ชัดเจน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : แผนกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลทักษิณ
โทร. 077-278-777 ต่อ 4124 , 4125 หรือ หมายเลขโทรศัพท์สายตรง 077-278-779

การใช้ยาอย่างถูกวิธี

ข้อแนะนำการใช้ยา 

1.
 ยาก่อนอาหาร ทานก่อนอาหาร 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ยกเว้นยาบางชนิดที่มีข้อแนะนำพิเศษ 
2.
 ยาหลังอาหาร ทานหลังอาหาร 15 นาที ถึง 30 นาที 
3.
 ยาหลังอาหารทันที ให้ทานหลังอาหารทันที เช่น ยาลดการอักเสบปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ 
4.
 ยาพร้อมอาหาร ทานพร้อมอาหารในมื้อนั้นๆ 
5.
 ยาผงผสมน้ำ ยาฆ่าเชื้อสำหรับเด็ก หลังจากผสมน้ำแล้วไม่ควรใช้เกิน 7 วัน ขณะที่ไม่ใช้ยาควรเก็บยาในตู้เย็นชั้นใต้ช่องแช่แข็งลงมา ห้ามเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง 
6.
 ยาหยอดตา หลังเปิดใช้แล้ว จะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน โดยทั่วไปจะเก็บในตู้เย็นชั้นใต้ช่องแช่แข็งลงมา ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง 
7.
 ยาป้ายตา หลังเปิดใช้แล้วจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ 
8.
 ยาเก็บในตู้เย็น เก็บในอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส หรือชั้นใต้ช่องแช่แข็งลงมา ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง 
9.
 การเก็บรักษายาทั่วไป ควรเก็บไว้ในที่แห้ง และพ้นจากแสงแดด 
10.
 อาการแพ้ยา หากทานยาแล้ว มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีผื่นคันตามตัว มีจ้ำที่ผิวหนัง หน้ามืด แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือใจสั่น ให้หยุดยา และมาปรึกษาแพทย์ทันที 

ลืมทานยา...ควรทำอย่างไร
?

1. ให้ทานยาทันทีที่นึกได้ แล้วทานยามื้อต่อไปตามเวลาปกติ
2.
 กรณีลืมทานยาแก้อักเสบ ยาฆ่าเชื้อ ให้ทานยาทันทีที่นึกได้ แต่หากลืมนานจนใกล้ถึงเวลายามื้อถัดไป ก็ข้ามไปทานมื้อถัดไปนั้นตามปกติ และห้ามหยุดยาเอง ต้องทานยาประเภทนี้ให้ครบตามแพทย์สั่ง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลทักษิณ
โทร.
 077-278-777 ต่อ 5275 , 5287

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ
คำถามที่พบบ่อย
ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดฟัน
ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝากครรภ์
การคัดท้องอันตรายหรือไม่
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของการตั้งครรภ์และการคลอดคืออะไร
การใช้ยาอย่างถูกวิธี

โรงพยาบาลทักษิณ (บริษัท สุราษฎร์เวชกิจ จำกัด)
309/2 ถนนตลาดใหม่ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ :077-278-777 แฟกซ์ :077-278-751 อีเมล์ :info@thaksinhospital.com
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 836408 คน
*ควรใช้งานผ่าน Google Chrome เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานเว็บไซต์